สโมสรฟุตบอล

สโมสรฟุตบอล ใน พรีเมียร์ลีก เป็นลีกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ส่งผลให้พวกเขามีรายได้ ประเภทค่าถ่ายทอดสด เงินรางวัล และของที่ระลึก เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก จากการสำรวจพบว่า ทั่วโลกมีแฟนกีฬาฟุตบอลมากถึง 4,000 ล้านคน เรามาชำแหละหุ้น โครงสร้างรายได้เป็นอย่างไรกันเลย

ชำแหละหุ้น สโมสรฟุตบอล น่าลงทุนหรือไม่ โครงสร้างรายได้เป็นอย่างไร

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก จากการสำรวจพบว่า ทั่วโลกมีแฟนกีฬาฟุตบอลมากถึง 4,000 ล้านคน (อันดับ 2 คือ คริกเก็ต 2,500 ล้านคน อันดับ 3 คือฮอกกี้ 2,000 ล้านคน) เรียกได้ว่าเป็นกีฬาของมหาชนอย่างแท้จริง เหมือนดั่งที่มีคนให้คำจำกัดความว่า ‘ฟุตบอลคือภาษาสากล’

เมื่อฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากขนาดนี้แล้ว สโมสรชื่อดังต่างๆ ก็จะต้องมีการแข่งขันกันในระดับสูงทั้งในและนอกสนาม ไม่ว่าจะเป็นการดึงนักเตะชื่อดังเข้ามาสู่ทีมเพื่อให้ผลการแข่งขันดีขึ้น และขยายฐานแฟนคลับให้กว้างขึ้น เราคงจะได้ยินข่าวว่าค่าตัวของ คริสเตียโน โรนัลโด ที่ย้ายจากเรอัล มาดริดไปยูเวนตุส อยู่ที่ 117 ล้านยูโร ค่าตัวเหมือนจะดูสูง แต่พอย้ายมายูเวนตุสก็ขายเสื้อทีมที่สกรีนชื่อ C. Ronaldo ไม่กี่วันก็คุ้มค่าตัวแล้ว เรียกได้ว่าเป็นเงินเป็นทองแทบทุกอย่าง

แต่สำหรับ พรีเมียร์ลีก ของอังกฤษ ถือว่าเป็นลีกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก รายได้หลักของทีมฟุตบอลแต่ละทีมจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 

  • ค่าตั๋วเข้าชม
  • เงินรางวัล
  • ขายของที่ระลึกและเสื้อทีม
  • ค่าถ่ายทอดสัญญาณ 
  • ค่าสนับสนุนชุดแข่ง (Nike, Adidas) และสนาม (ป้ายโฆษณาต่างๆ)

การที่พรีเมียร์ลีกเป็นลีกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกตามมาต่อสโมสรฟุตบอล เรียกได้ว่ารายได้ประเภท 2-4 ที่ได้กล่าวไปข้างต้นจะปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทีมจากอังกฤษรวยขึ้นมาก และสามารถไปแย่งซื้อนักเตะแข่งกับสโมสรในลีกอื่นๆ ได้ดีกว่า พอได้นักเตะดังๆ เข้ามาในลีกมากกว่า ความนิยมก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก ทำให้มาตรฐานของสโมสรและลีกของอังกฤษปรับตัวสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

มาดูตัวเลขในเชิงสถิติกันบ้าง นับจากปี 2009-2018 หรือ 10 ปีที่ผ่านมา รายได้จากค่าตั๋วเข้าชมถือว่าเติบโตน้อย อยู่ในระดับ 1-2% เท่านั้น ทางด้านรายได้จากค่าโฆษณาบนเสื้อทีม เฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 18% ต่อปี สุดท้ายรายได้ที่สำคัญที่สุดก็คือ รายได้จากการถ่ายทอดสัญญาณ 8 ปีที่ผ่านมาก็เติบโตสูง มองในด้านของโครงสร้างรายได้แล้ว รายได้ส่วนนี้เติบโตจาก 40% มาอยู่ที่ประมาณ 44% ของรายได้ทั้งหมด (รายได้รวมของสโมสรเติบโตมาก แต่รายได้จากส่วนนี้เติบโตมากกว่ารายได้ส่วนอื่นๆ) ยิ่งเข้ารอบฟุตบอลถ้วยลึกๆ ยิ่งทำให้รายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้นมาก เช่น ทีมลิเวอร์พูล ในปีที่แล้ว ที่ตกรอบบอลถ้วยภายในประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ดันไปได้แชมป์ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก ทำให้รายได้ในส่วนของการถ่ายทอดสดพุ่งเกิน 250 ล้านปอนด์ หรือเกือบ 10,000 ล้านบาทเป็นทีมแรกของโลก

จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมราคานักเตะถึงได้พุ่งขึ้นมาขนาดนี้ สมัยก่อนเวลาที่นักเตะย้ายทีมในราคาใกล้ๆ 50 ล้านปอนด์ก็ถือว่าสูงสุดๆ แล้ว แต่ทุกวันนี้นักเตะที่ยังไม่ดังมาก หรือยังไม่ถึงระดับโลก ย้ายทีมกันในราคามากกว่า 50 ล้านปอนด์เป็นเรื่องที่เห็นกันจนชินตา

แล้วพวกหุ้นสโมสรฟุตบอลเป็นอย่างไรกันบ้างในรอบ 1 ปี ของปี 2018 มาดูกัน

  • แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แห่งพรีเมียร์ลีกอังกฤษ -19.07% ก็ตามสภาพ ผลงานไม่ดี จะซื้อใครก็โดนโขกราคา เนื่องจากใครๆ ก็รู้ว่าแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดรวย จุดแข็งคือฐานแฟนบอลอันเหนียวแน่นมากมายโดยเฉพาะในเอเชีย แต่ถ้าผลงานไม่กระเตื้องก็น่าเป็นห่วงเหมือนกัน
  • อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม แห่งเอเรอดีวีซี เนเธอร์แลนด์ +40.42% ผลงานดีงาม นักเตะขายได้ราคาดี ผลงานก็เข้าถึงรอบรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก
  • โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ แห่งบุนเดสลีกา เยอรมนี +50.80% ผลงานก็ถือว่าดีเช่นกัน น่าเสียดายที่ไปพลาดแชมป์ในช่วงปลายฤดูกาล ได้แค่รองแชมป์
  • ยูเวนตุส แห่งเซเรียอา อิตาลี +74.59% ผลงานดีสม่ำเสมอ ทำธุรกิจฉลาด มีการซื้อนักเตะตั้งแต่ฟรียันแพง เวลาขายก็ขายได้แพงเช่นกัน 

มีข้อมูลอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ ตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ยกระดับสงครามการค้าขึ้นมาในวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา หุ้น Dortmund +6.82%, Juventus -3.75%, Manchester United -3.76%, Ajax Amsterdam -2.17%

จะเห็นได้ว่า หุ้น สโมสรฟุตบอล ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าค่อนข้างน้อยมาก ถือเป็นอีกธุรกิจที่น่าสนใจ ธุรกิจที่เน้นไปที่เรื่องของอารมณ์มากกว่าเรื่องของเหตุผลหรือการใช้งาน มักจะทำผลตอบแทนได้ดีในช่วงตลาดขาขึ้น และได้รับผลกระทบน้อยในช่วงตลาดขาลง

ดิเอโก มาราโดนา มอบเสื้อทีมชาติอาร์เจนตินา ชุดแชมป์โลกปี 1986 พร้อมลายเซ็น


ข้อมูลอ้างอิงจาก : wikipedia.org